หน่วยการเรียน เรื่อง การค้าปลีก

ธุรกิจค้าปลีก

ธุรกิจค้าปลีก หมายถึง กิจการที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้า หรือบริการโดยตรงแก่ผู้บริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคคนสุดท้าย  
 กิจการค้าปลีก คือ การขายสินค้า และบริการให้แก่ผู้บริโภคคนสุดท้ายเพื่อซื้อไปอุปโภคบริโภคของตนเอง การค้าปลีกได้พัฒนาเป็นประเภทต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในการดำเนินชีวิตประจำวัน
โดยจำแนกตามประเภทของ ร้านค้า และ สินค้าได้ ดังนี้                    
1. ธุรกิจค้าปลีกประเภทหาบเร่ มีลักษณะสำคัญคือ                                
      1.1 นำสินค้า หรือบริการเสนอขายถึงบ้านผู้บริโภค เช่น รถขายกับข้าวตามหมู่บ้าน                
      1.2 ขายสินค้าตามราคาท้องตลาดทั่วไป      

                                                 รูปภาพ ธุรกิจค้าปลีกประเภทหาบเร่    
               
2. ธุรกิจค้าปลีกประเภทร้านค้าเฉพาะอย่าง Specialty store มีลักษณะสำคัญคือ                              
      2.1 ขายสินค้าเฉพาะอย่าง และเฉพาะยี่ห้อ เช่น ห้างวัตสัน ขายสินค้าประเภทสุขอนามัยของร่างกาย   ยี่ห้อ Watson rsquos ได้แก่ เครื่องสำอาง สบู่ แชมพู                               
      2.2 มีสินค้าหลากหลายครบถ้วนและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเกี่ยวกับสินค้านั้น    

                                      รูปภาพ ธุรกิจค้าปลีกประเภทร้านค้าเฉพาะอย่าง
  
 3. ธุรกิจค้าปลีกประเภทร้านค้าสะดวกซื้อมีลักษณะสำคัญ คือ                           
    3.1 ขายสินค้าที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน                                
    3.2 ขายอาหารฟาสต์ฟูด และเครื่องดื่ม                                
    3.3 ทำเลที่ตั้งเป็นร้านสะดวกซื้อ                                  
    3.4 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ร้านแฟมิลี่มาร์ท ร้านเอเอ็มพีเอ็ม  ปัจจุบันตามสถานีบริการน้ำมันทั่วไป มีธุรกิจค้าปลีกประเภทร้านสะดวกซื้อให้บริการ     

                                      รูปภาพ ธุรกิจค้าปลีกประเภทร้านค้าสะดวกซื้อ
                   
4. ธุรกิจค้าปลีกประเภทร้าน Supermarket มีลักษณะสำคัญคือ                                  
  4.1 ขายสินค้าประเภทอาหารสด และเครื่องบริโภค                                
  4.2 ขายสินค้าประเภทอุปโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน                                
  4.3 สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์อาหารมีความสดใหม่ และหลากหลาย 
              4.4 ตั้งอยู่ในศูนย์การค้า และแยกเป็นร้านอิสระ เช่น ฟู้ดแลนด์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ท๊อปซูเปอร์มาร์เก็ต  และฟู้ดไลออนซูเปอร์มาร์เก็ต  


                                       รูปภาพ ธุรกิจค้าปลีกประเภทร้าน Supermarket
      
         5. ธุรกิจค้าปลีกประเภทซูเปอร์เซ็นเตอร์ Supercenter หรือไฮเปอร์มาร์ท มีลักษณะสำคัญคือ           
             5.1 ขายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน ในสถานที่เดียวกัน One stop shopping
             5.2 มีความหลากหลายของสินค้าเน้นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน                                  
             5.3 กำหนดนโยบายราคาดึงดูดใจลูกค้า                                  
             5.4 ให้บริการแบบบริการตนเอง Self-Service                                  
             5.5 พื้นที่บริการลูกค้าจัดเป็นชั้นเดียว  ธุรกิจประเภทนี้ ได้แก่ กิจการของธุรกิจค้าปลีกประเภทร้าน Supermarket คาร์ฟูร์ บิ๊กซี  ฯลฯ      
                  



รูปภาพ ธุรกิจค้าปลีกประเภทซูเปอร์เซ็นเตอร์ Supercenter 

         6. ธุรกิจค้าปลีกประเภทห้างสรรพสินค้า Department store มีลักษณะสำคัญคือ 
            6.1 ขายสินค้าประเภททั่วไป                                  
            6.2 มีความหลากหลายของชนิดสินค้าให้เลือก                                  
            6.3 เน้นสินค้าและการจัดโชว์แบบแฟชั่น                                  
            6.4 สินค้าราคาแพง                                  
            6.5 กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นระดับกลางถึงระดับสูง                                  
            6.6 ให้บริการแบบเต็มที่ Full-Service                                  
            6.7 พื้นที่ขายแบ่งออกเป็นชั้น ๆ โดยจัดสินค้าออกเป็นแผนก ๆ เช่น ห้างเซ็นทรัล เดอะมอลล์ โรบินสัน ดิเอมโพเรียม เซน พาต้า ฯลฯ     วิวัฒน์การธุรกิจค้าปลีก
                        

ห้างเซ็นทรัล

 เดอะมอลล์ 

รูปภาพ ดิเอมโพเรียม

นอกจากธุรกิจค้าปลีกที่จำแนกตามประเภทร้านค้าและสินค้าดังกล่าวข้างต้น ปัจจุบันธุรกิจขายปลีกประเภทขายตรง Direct sales มีความสำคัญยิ่ง   ด้วยเหตุผลและสภาวะในด้านการแข่งขันทางธุรกิจ ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกหลายรายได้หันมาใช้เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต Internet Technology เพื่อช่วยลด ขั้นตอน ลดต้นทุนในการดำเนินการ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า โซลูชันที่ได้มีการนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจแบบค้าปลีกได้แก่ การเพิ่มช่องทางการให้บริการด้านการขาย ระบบการให้ข้อมูลผ่านเว็บ ณ จุดขายและบริการ สื่อวิดีโอโฆษณา บริการเครือข่ายไร้สาย และแอพพลิเคชันด้าน อีเลิร์นนิ่ง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ช่วยให้ธุรกิจค้าปลีกเพิ่มผลกำไรในการดำเนินธุรกิจ ขยายส่วนแบ่งทางการตลาด และเป็นที่ยอมรับใน คุณภาพและบริการของร้านค้า   ปัจจุบัน ป้ายราคา เครื่องเก็บเงิน และรายการสินค้าคงคลัง ได้ถูกเก็บและบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ไปซะแล้ว สิ่งที่เข้ามาแทน คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ด เครื่องให้บริการทางเว็บ Web kiosks และการตรวจนับสินค้าคงคลัง ผ่านอุปกรณ์พกพาแบบไร้สาย สิ่งเหล่านี้ได้ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบในการดำเนินต่อไปของธุรกิจด้านการค้าปลีก   ผลลัพธ์ที่ร้านค้าปลีกที่ได้รวมเอาอินเทอร์เน็ตเข้าไปในการดำเนินธุรกิจ จะช่วยให้เพิ่มผลกำไรในการประกอบการ ลดต้นทุน สร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์สินค้า ตลอดจนร้านค้า รวมไปถึงสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า การพัฒนาระบบเครือข่ายที่มั่นคงจะสามารถรองรับแอพพลิเคชันใหม่ๆ ในอันที่จะขยายความสามารถในการดำเนิน ธุรกิจด้านอินเทอร์เน็ตในอนาคตได้อีกด้วย

แนวโน้มของธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง
การเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจค้าปลีกที่ปราศจากการควบคุมของภาครัฐ รวมทั้งทิศทางธุรกิจค้าปลีกไทยได้รับผลกระทบจากการปฏิวัติระบบการค้าปลีกโลก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่นักลงทุนต่างชาตินําเข้า มา เพื่อให้ธุรกิจค้าปลีกไทยทันสมัย ทันเหตุการณ์เพื่อสานประโยชน์ของทุกฝ่ายทั้งผู้ค้าปลีก ซัพพลายเออร์และโรงงานผู้ผลิต ด้วยระบบการจัดการ อีซีอาร์ (ECR :Efficient Consumer Response) ซึ่งเป็น กระบวนการบริหารจัดการและการทดแทนสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และระบบศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center : DC) ที่ เอื้อประโยชน์ต่อการขนส่งและทำหน้าที่เสมือนผู้ค้าส่งทําให้โครงสร้างของ ธุรกิจค้าปลีก เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมได้ลดลงและถูกแทนที่ด้วยร้านค้าปลีกสมัยใหม่ จากผลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงนโยบายภาครัฐทางด้านธุรกิจค้าปลีก และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงธุรกิจและโครงสร้างค้า ปลีกตลอดเวลา ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกจึงต้องมีความสนใจและให้ความสำคัญกับการ เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อเตรียมความพร้อมรับและปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อความอยู่รอดและประสบ ความสำเร็จอย่างยั่งยืน
ในปี 2550 ภาคการค้า (Trade Sector) ซึ่ง ประกอบด้วยการค้าส่งและการค้าปลีก เป็นสาขาการผลิตที่คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ นับเป็นสาขาการผลิตที่สําคัญเป็นลําดับสองรองจากภาคอุตสาหกรรม เมื่อพิจารณาถึงการค้าปลีก พบว่าอัตราการขยายตัวจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงสอดคล้องกับอัตราการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ (GDP) และการบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption Expenditure : PCE)

เศรษฐกิจพอเพียง : จากปรัชญา สู่ทฤษฎี (ใหม่) ทางธุรกิจ
             เศรษฐกิจพอเพียงทางธุรกิจ ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยอาศัยความรู้ และคุณธรรมเป็นเงื่อนไขในการดำเนินงานทางธุรกิจ การจะนำปรัชญามาปฏิบัติให้เกิดผล จำเป็นต้องมีแบบแผนหรือระเบียบวิธีดำเนินงาน เพื่อแปลงหลักการใน ปรัชญาซึ่งมีความเป็นนามธรรมสูง ให้เป็น ทฤษฎีที่สามารถอธิบายขั้นตอนการดำเนินงานหรือการนำไปปฏิบัติที่มีความเป็นรูปธรรม และ ให้ผลลัพธ์เดียวกันเมื่อดำเนินการตามทฤษฎีนั้น  ก็จะเกิดประโยชน์ต่อสังคม และ ประเทศชาติ

รูปภาพแสดง  ธุรกิจที่นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น